ยินดีต้อนรับคร๊าบผ๊ม

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


งานกีฬา

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


แผนการสอน


กิจกรรมคาวบอย


รหัสวิชา ๒๑๐๑-๒๑๑๓
ชื่อวิชา คณิตศาสตร์ช่างยนต์
หน่วยกิต/ชั่วโมง ๒/๓๖
ครูผู้สอน นายพรชัย ผันแปรจิตร

จุดประสงค์รายวิชา
๑. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการคำนวณเกี่ยวกับช่างยนต์
๒. เพื่อให้สามารถคำนวณหาค่าที่ต้องการในงานช่างยนต์
๓. เพื่อให้มีกิจนิสัยที่ดีในการทำงาน มีความประณีต รอบคอบในการทำงาน

มาตรฐานรายวิชา
๑. เข้าใจหลักการคำนวณเกี่ยวกับงานช่างยนต์
๒. คำนวณสมรรถนะเครื่องยนต์
๓. คำนวณระบบส่งกำลังรถยนต์
๔. คำนวณระบบเครื่องล่างรถยนต์
๕. คำนวณความเร็วรถยนต์

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาหลักการคำนวณเกี่ยวกับงานช่างยนต์ ระบบหน่วย สมรรถนะของเครื่องยนต์
ระบบส่งกำลังเครื่องล่างรถยนต์ และความเร็วรถยนต์

เกณฑ์การวัดผลประเมินผล
๑. การวัดผล
กำหนดอัตราส่วนของคะแนนระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียนเป็น ๘๐:๒๐
๑.๑ คะแนนประเมินตามสภาพจริง ๘๐ % ประกอบด้วย
- คะแนนทดสอบ ๖๐ %
- คะแนนสอบปลายภาคเรียน ๒๐ %
๑.๒ คะแนนประเมินคุณธรรม จริยธรรม ๓๐ % ประกอบด้วย
- คะแนนเวลาเรียน ๑๐ %
- คะแนนความประพฤติ ๑๐ %
๒. การประเมินผล
กำหนดการตัดระดับผลการเรียน โดยใช้วิธีอิงเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
คะแนนระหว่าง ๐-๔๙ ได้ผลการเรียนเป็นเกรด ๐
คะแนนระหว่าง ๕๐-๕๔ ได้ผลการเรียนเป็นเกรด ๑
คะแนนระหว่าง ๕๕-๕๙ ได้ผลการเรียนเป็นเกรด ๑.๕
คะแนนระหว่าง ๖๐-๖๔ ได้ผลการเรียนเป็นเกรด ๒
คะแนนระหว่าง ๖๕-๖๙ ได้ผลการเรียนเป็นเกรด ๒.๕
คะแนนระหว่าง ๗๐-๗๔ ได้ผลการเรียนเป็นเกรด ๓
คะแนนระหว่าง ๗๕-๗๙ ได้ผลการเรียนเป็นเกรด ๓.๕
คะแนนระหว่าง ๘๐-๑๐๐ ได้ผลการเรียนเป็นเกรด ๔


หน่วยวัดในระบบ SI unit
หน่วย SI มูลฐาน เป็นหน่วยหลักเบื้องต้นมี ๗ หน่วย คือ
ปริมาณ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์
๑.ความยาว เมตร m
๒.มวล กิโลกรัม kg
๓.เวลา วินาที S
๔.กระแสไฟฟ้า แอมแปร์ A
๕.อุณหภูมิทางเทอร์โมไดนามิกส์ เคลวิน K
๖.ความเข้มแสง แคนเดลา cd
๗.ปริมาณสาร โมล Mol.


หน่วย SI อนุพันธ์ เป็นหน่วยผสมโดยเอาหน่วยมูลฐานหลายหน่วยมาใช้รวมกัน
ปริมาณ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์
๑.พื้นที่ ตารางเมตร m๒
๒.ปริมาตร ลูกบาศก์เมตร m๓
๓.ความหนาแน่น กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร kg/m๒
๔.อัตราเร็ว,ความเร็ว เมตรต่อวินาที m/s
๕.แรง นิวตัน N=kg m/s๒
๖.ความดัน,ความเค้น ปาสคาล Pa=N/m๒
๗.งาน,พลังงาน,ปริมาณความร้อน จูล J=N.m
๘.กำลัง วัตต์ W=J/s
๙.เอนโทรปี จูลต่อกิโลกรัม-เคลวิน J=kg.K
๑๐.ความจุความร้อนจำเพาะ จูลต่อกิโลกรัม-เคลวิน J=kg.K


หน่วยอื่นที่ยอมให้ใช้ร่วมกับหน่วย SI
เป็นหน่วยที่ไม่ใช่หน่วย SI แต่ยอมให้ใช้ร่วมกับหน่วย SI ได้
หน่วย สัญลักษณ์ ค่าในหน่วย SI
๑.ตัน T ๑t = ๑๐๓ kg
๒.ลิตร L ๑t = ๑๐-๓ m๓
๓.บาร์ bar ๑ bar = ๑๐๕ N/m๒
๔.บรรยากาศ atm ๑ atm = ๑.๐๑๓๒๕ × ๑๐๕ Pa
๕.องศาเซลเซียส C ๐ C = ๒๗๓.๑๕ K
๖.กิโลวัตต์ชั่วโมง K W h ๑ K W h = ๓.๖ × ๑๐๖ J